เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่โครงการ TCAS รอบที่ 4 ปีการศึกษา 2566

ระเบียบการรับสมัครโครงการ TCAS รอบที่ 4  ปีการศึกษา 2566

ระเบียบการรับสมัครโครงการ TCAS รอบที่ 4  โดยใช้คะแนน TGAT/TPAT หรือ A-Level ปีการศึกษา 2566

<<สมัครเรียน>>

คุณวุฒิและเกณฑ์การพิจารณา

1. ผู้ศึกษาในสถานศึกษาระบบไทย

              – เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

              – มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่น้อยกว่า 3.00

              การสอบสัมภาษณ์

              สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

              ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบสัมภาษณ์

  1. 1. ประวัติผลงานของผู้สมัคร (Portfolio) เป็นภาษาอังกฤษ
  2. 2. เรียงความแสดงเจตจำนงในการเข้าศึกษา (Statement of Purpose) เป็นภาษาอังกฤษ (จำนวนคำไม่ต่ำกว่า 500 คำ)

 

2. ผู้ศึกษาในสถานศึกษาหลักสูตรสองภาษา/หลักสูตรภาษาอังกฤษ/นานาชาติในประเทศ และต่างประเทศ    

              – เป็นผู้ที่กำลังศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาในชั้นปีที่เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 อาทิ Grade 12 หรือ Year 13

              – สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศให้การเทียบวุฒิเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเทียบความรู้วุฒิต่างประเทศ ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2545 โดยนำเอกสารหลักฐานทางการศึกษาตัวจริงมาแสดง

              การสอบสัมภาษณ์

              สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

              ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบสัมภาษณ์

  1. 1. ประวัติผลงานของผู้สมัคร (Portfolio) เป็นภาษาอังกฤษ
  2. 2. เรียงความแสดงเจตจำนงในการเข้าศึกษา (Statement of Purpose) เป็นภาษาอังกฤษ (จำนวนคำไม่ต่ำกว่า 500 คำ)

 

3. ผู้สมัครด้วยวุฒิ General Certificate of Education (GCE) มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

ผู้สมัครมีผลการสอบระดับ GCE ‘A’ Level จำนวนอย่างน้อย 3 วิชา เกรด A*-E หรือ ผลการสอบ Cambridge Pre-U จำนวนอย่างน้อย 3 วิชา เกรด M 1 หรือ D1-D3 โดยมีใบแสดงผลการสอบผ่านวุฒิ GCE หรือ Cambridge Pre-U ตัวจริง พร้อมสำเนามาแสดง

              *หมายเหตุ*

              ในกรณีเป็นการสอบเทียบที่ผู้สมัครมิได้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ผู้สมัครต้องแสดงผลการศึกษาจากสถานศึกษาเดิมจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนการสอบเทียบ

              การสอบสัมภาษณ์

              สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

              ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบสัมภาษณ์

  1. 1. ประวัติผลงานของผู้สมัคร (Portfolio) เป็นภาษาอังกฤษ
  2. 2. เรียงความแสดงเจตจำนงในการเข้าศึกษา (Statement of Purpose) เป็นภาษาอังกฤษ (จำนวนคำไม่ต่ำกว่า 500 คำ)

 

4. ผู้สมัครด้วยวุฒิการศึกษา General Educational Development (GED)

คุณสมบัติให้เป็นไปตามประกาศสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เรื่อง “เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566” โดยมีกรณีดังต่อไปนี้
                กรณีที่ 1 ผู้สมัครที่สอบ GED ก่อนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 และมีผลการสอบ GED 5 รายวิชา มีคะแนนรวมไม่น้อยกว่า 2,250 คะแนน แต่ละวิชาต้องได้อย่างน้อย 410
               กรณีที่ 2 ผู้สมัครที่สอบ GED ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป และมีผลการสอบ GED 4 รายวิชา โดยแต่ละวิชามีคะแนนอย่างน้อย 145 คะแนน

              *หมายเหตุ*

              ในกรณีเป็นการสอบเทียบที่ผู้สมัครมิได้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ผู้สมัครต้องแสดงผลการศึกษาจากสถานศึกษาเดิมจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนการสอบเทียบ

              การสอบสัมภาษณ์

              สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

              ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบสัมภาษณ์

  1. 1. ประวัติผลงานของผู้สมัคร (Portfolio) เป็นภาษาอังกฤษ
  2. 2. เรียงความแสดงเจตจำนงในการเข้าศึกษา (Statement of Purpose) เป็นภาษาอังกฤษ (จำนวนคำไม่ต่ำกว่า 500 คำ)

 

5. ระบบนิวซีแลนด์  

ผู้สมัครสำเร็จการศึกษาด้วยวุฒิ New Zealand National Certificate of Educational Achievement (NCEA) ให้คุณสมบัติเป็นไปตามประกาศสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เรื่อง “เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566” ดังต่อไปนี้
                เกณฑ์ข้อที่ 1 ผู้สมัครที่สอบผ่านวิชา New Zealand National Certificate of Educational Achievement (NCEA) ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualification Authority (NZQA) จำนวนไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต ประกอบด้วย
                                         – วิชาใน level 2 หรือสูงกว่าจำนวนไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต และ
                                         – วิชาใน level 1 หรือสูงกว่าจำนวนไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต
                การพิจารณาให้นับวิชา English for Speaker of other Languages (ESOL) เป็นอีก 1 วิชาได้ด้วย
               ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตร NCEA level 2, ใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement), หนังสือรับรองระดับ จำนวนวิชา และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชา จาก New Zealand Qualification Authority (NZQA)
                ทั้งนี้ การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อที่ 1 ให้มีผลสำหรับผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป หรือ
                เกณฑ์ข้อที่ 2 ผู้สมัครที่สอบผ่านวิชา New Zealand National Certificate of Educational Achievement (NCEA) ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualification Authority (NZQA) ใน level 2 หรือ สูงกว่าอย่างน้อย 5 วิชาไม่ซ้ำกัน นับจำนวนรวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาบังคับ 2 วิชา ได้แก่
                                – English (literacy) ใน level 2 หรือสูงกว่า อย่างน้อย 4 หน่วยกิต
                                          – Mathematics (numeracy) ใน level 2 หรือสูงกว่า อย่างน้อย 4 หน่วยกิต
                  การพิจารณาไม่นับรวมวิชา English for Speakers of other Languages (ESOL)
                  ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตร NCEA level 2, ใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement), หนังสือรับรองระดับ จำนวนวิชา และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชา จาก New Zealand Qualification Authority (NZQA)
                  ทั้งนี้ การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อที่ 2 ให้มีผลสำหรับผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป

              การสอบสัมภาษณ์

              สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

              ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบสัมภาษณ์

  1. 1. ประวัติผลงานของผู้สมัคร (Portfolio) เป็นภาษาอังกฤษ
  2. 2. เรียงความแสดงเจตจำนงในการเข้าศึกษา (Statement of Purpose) เป็นภาษาอังกฤษ (จำนวนคำไม่ต่ำกว่า 500 คำ)

 

6.หลักสูตรนานาชาติ International Baccalaureate (IB)

             คุณสมบัติให้เป็นไปตามประกาศสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เรื่อง “เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาประจำปีการศึกษา 2566” ดังต่อไปนี้

              ผู้สมัครจะต้องได้รับประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียน (High School Diploma) และ/หรือ ได้รับ IB Diploma และ/หรือ IB DP Course Results ดังนี้

  • ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จะต้องได้รับ IB Diploma กล่าวคือเป็นผู้มีผลคะแนนรวมจาก 5 หมวดวิชา และอีก 1 วิชาเลือก ไม่ต่ำกว่า 24 คะแนน พร้อมกับผ่านการประเมิน Extended Essay (EE), Theory of Knowledge (TOK) และ Creativity, Action & Service (CAS) ตามเกณฑ์ของ International Baccalaureate Organization (IBO)
  • ได้รับ IB Diploma Course Results (IBCR) อย่างน้อย 5 วิชา โดยแต่ละวิชาจะต้องไม่ซ้ำกัน และได้ผลการเรียนในแต่ละวิชา ไม่น้อยกว่าเกรด 3

              *หมายเหตุ*

              – ไม่สามารถเทียบวิชาใน IB Diploma กับรายวิชาตามหลักสูตร เพื่อให้การศึกษาเป็นไปครบถ้วนตามหลักสูตร

              – ในกรณีเป็นการสอบเทียบที่ผู้สมัครมิได้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ผู้สมัครต้องแสดงผลการศึกษาจากสถานศึกษาเดิมจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนการสอบเทียบ

              การสอบสัมภาษณ์

              สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

              ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบสัมภาษณ์

  1. 1. ประวัติผลงานของผู้สมัคร (Portfolio) เป็นภาษาอังกฤษ
  2. 2. เรียงความแสดงเจตจำนงในการเข้าศึกษา (Statement of Purpose) เป็นภาษาอังกฤษ (จำนวนคำไม่ต่ำกว่า 500 คำ)

 

7. ผู้สมัครด้วยคะแนน SAT, General Scholastic Aptitude Test (GSAT) และ Chulalongkorn University Academic Aptitude Test (CU-AAT)

            – เป็นผู้ที่กำลังศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาในชั้นปีที่เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 อาทิ Grade 12 หรือ Year 13 และ ได้รับผลคะแนนตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

การสอบสัมภาษณ์

สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

              ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบสัมภาษณ์
              1. ประวัติผลงานของผู้สมัคร (Portfolio) เป็นภาษาอังกฤษ
              2. เรียงความแสดงเจตจำนงในการเข้าศึกษา (Statement of Purpose) เป็นภาษาอังกฤษ (จำนวนคำไม่ต่ำกว่า 500 คำ)

 

8. ผู้สมัครด้วยคะแนน TGAT/TPAT

            – เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
            –  มีคะแนน TGAT/TPAT ในรายวิชา TGAT 90 ความถนัดทั่วไป และ TGAT 91 การสื่อสารภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ผลคะแนน TGAT/TPAT ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี (นับจากวันที่สอบ)

การสอบสัมภาษณ์

สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

 

9. ผู้สมัครด้วยคะแนน A-Level

            – เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
            –  มีคะแนน A-Level ในรายวิชา 61 คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน + เพิ่มเติม) และ รายวิชา 82 ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ผลคะแนน A-Level ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี (นับจากวันที่สอบ)

การสอบสัมภาษณ์

สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

หากปรากฏภายหลังว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนดหรือขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งตามที่ระบุไว้อยู่ก่อนทำการสมัครสอบคัดเลือกจะถูกตัดสิทธิ์ในการสอบคัดเลือกครั้งนั้น ๆ และแม้จะได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้วก็ตาม และไม่ได้เปลี่ยนสถานภาพจากเดิมไปเป็นอย่างอื่น จะถูกถอนสภาพจากการเป็นนักศึกษาทันที